อาหารกล่อง Arigato BENTO

อาหารกล่อง Arigato BENTO
อาหารกล่อง Bennto

Arigato BENTO Kabuki Set

Arigato BENTO Kabuki Set

อาหารกล่อง Arigato BENTO

อาหารกล่อง Arigato BENTO
Arigato BENTO Mini-box

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อาหารญี่ปุ่น [Nihon ryoori>

อาหารญี่ปุ่น [Nihon ryoori]
การทำอาหารญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องรู้จักเครื่องปรุงชนิดต่างๆ ทั้งผัก ผลไม้ เครื่องปรุงของแห้ง และวัสดุ อุปกรณ์

เครื่องปรุง

ข้าวญี่ปุ่น
[Gome]ข้าวสารญี่ปุ่นจะมีเมล็ดสั้นกลม หรือเรียกอีกชื่อว่า [Short Grain]เมื่อหุงสุกแล้วจะมียางเหนียว มีความนุ่ม
เต้าหู้
[Tofu]เป็นเครื่องปรุงที่ใช้กันมาก เต้าหู้ของญี่ปุ่นจึงมีหลากหลายชนิด เช่น เต้าหู้อ่อน[kinugoshi] เต้าหู้แข็ง[Momen]
เต้าหู้ทอด
[Agodofu]ซึ่งมีทั้งชนิดแผ่นบาง [Age] และชนิดแผ่นหนา
สาหร่ายทะเล
[Wakame Seaweed]มีหลายชนิดมาก เพราะนำมาใช้ทำอาหารแตกต่างกัน วาคาเมะ [Wakame] เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดสดที่หมักกับเกลือและชนิดแห้งที่เป็นเส้นยาวสีดำ ต้องนำมาแช่น้ำให้นุ่มก่อนทำอาหารนิยมใส่เป็นลูกซุป
โนริ
[Nori] คือสาหร่ายแห้ง มีทั้งชนิดแผ่นและชนิดผง ใช้โรยบนอาหารชนิดต่างๆ คอมบุ[Kombu] เป็นสาหร่ายแห้งแผ่นยาว มีฝ้าขาวก่อนนำมาประกอบอาหารต้องใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดฝ้าและตัดริมที่แข็งออกแล้วแช่น้ำ ทำเป็นน้ำซุป [Dashi]

โซบะ[Soba]เส้นบะหมี่สีเหลือง ใช้สำหรับผัด
อุด้ง
[Udon] เส้นบะหมี่ญี่ปุ่น ทำจากแป้งสาลีผสมเกลือและน้ำเล็กน้อย นวดและตัดเป็นเส้นยาวมีขายทั้งชนิดเส้นแห้งและเส้นสด
ชิราตากิ
[Shirataki] เส้นขาวใสคล้ายวุ้นเส้น แต่เส้นใหญ่กว่า ทำจากหัวบุก นิยมใส่ในอาหารประเภทหม้อไฟ ก่อนทำอาหารต้องลวกในน้ำเดือดให้หมดกลิ่นคาว
เกี๊ยวช่า
[Gyoza] แผ่นเกี๊ยวสำหรับทำเกี๊ยวซ่า ซึ่งเป็นอาหารว่างของญี่ปุ่น
ปลาโออบแห้ง
[Katsuo bushi] ดป็นเนื้อปลาโอไสเป็นแผ่นบาง อบจนแห้ง สำหรับทำน้ำซุป [Dashi]
การิ
[Gari] ขิงดอง เป็นเครื่องแนมในอาหารชนิดต่างๆ
ตะกวง
[Takuan] หัวไชเท้าดอง มีสีเหลือง ทำเป็นไส้ของซูชิ และเป็นของแนม
คุโระโกมะ-โกมะ
[Kurogoma-goma] งาดำ งาขาว เครื่องปรุงที่ใช้ใส่ในน้ำจิ้มชนิดต่างๆ และเคล้าในอาหาร
ผักสดชนิดต่างๆ

เอโนะคิตากิ
[Enokitaki Mushroom] หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดเข็มทอง ใช้เป็นผักในอาหารหม้อไฟชนิดต่างๆเช่น สุกี้ยากี้ ชาบุชาบุ
ชิเมจิ
[Shimeji Mushrooms]เห็ดหอมสดญี่ปุ่น มีดอกขนาดเล็ก ใส่ในอาหารหม้อไฟชนิดต่างๆ
ไควาเระ
[Kaiware] เป็นถั่วงอกของญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ใส่เป็นผักในเครื่องปรุงของอาหารญี่ปุ่นหลายจาน ทั้งสุกี้ยากี้ ชาบุชาบุ สเต็ก เป็นต้น
ไดกง
[Daikon] หัวไชเท้า เป็นผักที่ขูดเป็นเส้นฝอย รับประทานกับซาซิมิชนิดต่างๆ กับปูอัด และฝนจนละเอียด ไว้รับประทานกับเทมปุระ
โดยวางขิงขูดฝอยไว้ด้านบน

โชหงะ
[Shoga] ขิง ขิงอ่อนใช้ดองสำหรับเป็นของแนม ขิงแก่นำมาฝนจนละเอียดเป็นของแนมกับเทมปุระ
เรงกง
[Renkon] รากบัว นำมาชุบแป้งทอดทำเป็นเทมปุระ
นะซึ
[Nazu] มะเขือม่วง มีสีม่วงเกือบดำ ผลยาวเรียวเล็กนำมาฝานเป็นแผ่นบางโดยไม่ให้ขาดออกจากกัน เป็นผักเทมปุระ
คะโบจะ
[Kabocha] ฟักทองญี่ปุ่น เปลือกเรียบ นิยมนำมาชุบแป้งทอดทำเป็นเทมปุระ
ทาโระ-อิโมะ
[Taro-imo] เผือกนิยมนำมาชุบแป้งทอดทำเป็นเทมปุระ
เคียะเบ๊ททสึ
[Kyabetsu] กะหล่ำปลี ผักในอาหารประเภทสเต๊กชนิดต่างๆ
ชิโซะ
[Shiso Leaf] ใบเบญจมาศญี่ปุ่น ชุบแป้งทอดทำเทมปุระและใช้ตกแต่งจานอาหารชนิดต่างๆ
โอกุระ
[Okura] กระเจี๊ยบ เป็นผักแนมกับสเต็ก ใส่ในอาหารประเภทหม้อไฟ
คิวริ
[Kyuuri] แตงกวาญี่ปุ่น ลักษณะลูกยาวเรียว ผิวขรุขระ
เครื่องปรุงรส

โชยุ
[Shoyu] ซีอิ๊วญี่ปุ่น ราชาเครื่องปรุงรสในอาหารญี่ปุ่น ใช้ปรุงรสอาหารแทบทุกชนิด ทั้งใส่ในอาหารและทำน้ำจิ้ม ซีอิ้วญี่ปุ่นมี 2 ชนิด คือชนิดเค็มมากซึ่งก่อนใช้จิ้มกับซูชิต้องผสมกับน้ำสต๊อกให้เจือจางเสียก่อน และซีอิ๊วญี่ปุ่นชนิดเค็มน้อย
เต้าเจี้ยว
[Miso] มี 2 ชนิด คือ คาราคุจิ โดเมะ มิโสะ เป็นเต้าเจี้ยวขาวที่ใช้ในการ ทำซุป เนื้อหยาบ เวลาทำซุปต้องกรอง ราคาไม่แพง
และมุงิ มิโสะ เป็นเต้าเจี้ยวขาวแบบสำเร็จรูป เนื้อละเอียด ราคาค่อนข้างแพง

นัตโต
[Natto] ถั่วเหลืองหมัก ใส่ในอาหารชนิดต่างๆ หรือนำมาคลุกข้าว
มิริน
[Mirin] เหล้าที่มีรสหวาน ใส่ในอาหารได้หลายประเภท
โกมะอาบุระ
[Goma-abura] น้ำมันงา
ฮอนดาชิ
[Hondashi] ผงชูรสญี่ปุ่น
เหล้าสาเก
[O-sake] เหล้าที่ใส่ในอาหารหรือดื่มก็ได้
โซซุ
[Sosu] ซอสเปรี้ยว นำมาปรุงอาหารประเภทผัดหรือจิ้มหมูทอด
ชิจิมิ-โทการาชิ
[Togarashi] พริกป่น ใส่ในอาหารที่ต้องการรสเผ็ด ส่วนใหญ่ รับประทานกับไก่ย่าง[Yakitori]
ซุ
[Su] น้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าวญี่ปุ่นสำหรับปรุงรส แยกออกเป็น 2 ชนิด คือ นิไฮซุ [Nihaizu] เป็นน้ำส้มสายชูที่มี 2 รส คือ
รสเปรี้ยวกับเค็ม และ ซัมเบซุ
[Sanbezu] เป็นน้ำส้มสายชูที่มี 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน
วาซาบิ
[Wasabi] มัสตาร์ดเขียว มีให้เลือกซื้อหลายชนิดด้วยกัน ทั้งชนิดผง ที่บรรจุซอง ถุง หรือกระป๋อง และแบบผสมให้เสร็จแล้วบรรจุหลอดและแบบผสมเองใส่ถุงเล็กๆขาย ซึ่งทำให้มัสตาร์ดมีกลิ่นฉุนน้อยลง
อุปกรณ์ชนิดต่างๆ
ฮะชิ[Hashi] ตะเกียบ มี 2 ชนิดคือ ตะเกียบสำหรับใช้ในการปรุงอาหาร และตะเกียบสำหรับรับประทานอาหาร
ริคิว
[Rikyu] คือ ตะเกียบที่มีความยาวเป็นพิเศษ ใช้สำหรับทอดอาหาร
โชจิน
[Shojin] ตะเกียบที่ใช้รับประทานอาหารตามบ้าน มีลักษณะปลายเรียว แหลม
วาริบาชิ
[Waribashi] ตะเกียบที่ทำด้วยไม้ไผ่บางๆ มีลักษณะติดกัน เวลาใช้รับประทานอาหารต้องดึงตะเกียบให้แยกออกจากกัน ตะเกียบชนิดนี้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
ฮาชิโอคิ
[Hashi Oki] เป็นที่วางตะเกียบ มีมากมายหลายรูปแบบเพื่อไม่ให้ปลายตะเกียบเลอะโต๊ะอาหาร
สุโนะโคะ
[Sunoko] คือ มู่ลี่ไม้ไผ่สำหรับม้วนซูชิ หรือ ไว้สำหรับวาง โซบะ(ซารุโซบะ)
เบนโต
[Bentoo] กล่องสี่เหลี่ยมใหญ่สำหรับใส่อาหารเที่ยงรับประทานนอกบ้าน
ที่มา http://www2.neweb.ne.jp/wc/kyanara/ryouri1.html


ข้าวยำแบบเกาหลี


ข้าวหอมมะลิหุงสุก 2 ถ
เนื้อวัวบด 200 กรัม
ถั่วงอกหัวโต 150 กรัม
แตงกวาญี่ปุ่น 1 ลูก
ผักโขม 1 กำ
ผักกาดหอมสำหรับตกแต่ง1 ต้น
แครอท 1/2 หัว
ไข่ไก่ 2 ฟอง
วุ้นเส้นเกาหลีลวกสุก (ไม่ใส่ก็ได้)

1. ผัดเนื้อพอสุก ปรุงรสด้วยโชยุ น้ำมันงา เกลือป่น ใส่งาขาว ต้นหอม กระเทียมสับ และพริกไทยป่น ตักขึ้นพักไว้
2. ผ่าครึ่งแตงกวาญี่ปุ่นแล้วหั่นเป็นเส้น โรยเกลือป่น ทิ้งไว้สักพัก บีบน้ำออกแล้วนำไปผัดพอสุก ปรุงรสด้วยเกลือป่นและน้ำมันงา
3. ลวกถั่วงอกในน้ำเดือด พักให้สะเด็ดน้ำ เติมเกลือป่น น้ำมันงา ต้นหอมซอย และกระเทียมสับอย่างละเล็กละน้อย เคล้าให้เข้ากันดี พักไว้
4. ลวกผักโขมพอสุก พักให้สะเด็ดน้ำ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปผัด ปรุงด้วยเกลือป่น น้ำมันงา ใส่ต้นหอมซอย และกระเทียมสับ
5. หั่นแครอทเป็นเส้นยาว ผัดพอสุก ปรุงรสด้วยเกลือป่น
6. เจียวไข่แล้วหั่นเป็นเส้นเล็กยาว
7. ตักข้าวใส่ชาม วางเนื้อ ไข่เจียว วุ้นเส้น และผักต่างๆบนข้าวจัดให้สวยงาม เวลาทานให้คลุกข้าวกับผักต่างๆ ใส่ซีอิ๊วปรุงรสและซ้อสพริก

ซีอิ๊วปรุงรสสำหรับทานกับข้าว

โชยุ 4 ชช
น้ำตาล 2 ชช
สาเก 1 ชช
ต้นหอมซอย 1 ชช
กระเทียมสับ 1 ชช
น้ำมันงา 1 ชช
งาขาวคั่วบุบกับเกลือป่น 1 ชช
ผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน คนให้เข้ากันดี

ซอสพริก

พริกชี้ฟ้าแดงปั่น 4 ชช
กับน้ำตาลทราย 1 ชช
งาคั่วบุบ 1 ชช
น้ำมันงา 1 ชช
ผสมให้เข้ากัน ต้องเก็บค้างคืนถึงจะอร่อย

วิธีทำ คุชิ ดังโงะ


สูตรและวิธีทำขนมดังโงะภาคภาษาอังกฤษ (เรื่องแป้งลองสอบถามผู้รู้ดูอีกที เพราะบางแห่งบอกว่า ไม่แน่ใจว่าใช้แป้งอะไรกันแน่ ระหว่างแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งท้าวยายม่อม) สูตรนี้เขียนว่าแป้งข้าวเหนียว

Ingredients
1 cup glutinous-rice flour
3/4 cup warm water

FOR SAUCE
3/4-1 cup water
1/2 cup sugar
2 tablespoons soy sauce
1 1/2 tablespoons potato starch or cornstarch
1 1/2 tablespoons water
bamboo sticks

Directions
1. Put rice flour in a bowl and add warm water.
2. Knead the dough well.
3. Make small round dumplings.
4. Place the dumplings in a steamer and steam them on high heat for 10 minute
5. Cool the dumplings and skewer them in bamboo sticks. (3-4 dumplings each stick.)
6. Mix water, sugar, and soysauce in a pan and put it on medium heat.
7. Mix the water and potatostarch in a cup and set aside.
8. When the sauce boils, add the starch mixture and mix quickly.
9. Slightly grill the skewered dumplings and brush the sauce over them.
FOR SAUCE (ซ็อส)
3/4-1 cup water (น้ำประมาณ 3/4 ถึง 1 ถ้วย)
1/2 cup sugar (น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย)
2 tablespoons soy sauce (ซีอิ๊ว 2 ชต.)
1 1/2 tablespoons potato starch or cornstarch (แป้งมัน 1 1/2 ชต.)
1 1/2 tablespoons water (น้ำ 1 1/2 ชต.)
bamboo sticks (ไม้เสียบ)

วิธีทำ....ผสมน้ำ น้ำตาล ซีอิ๊วเข้าด้วยกันในกะทะแล้วนำไปตั้งไฟแรงปานกลาง พอเดือดแล้วนำน้ำผสมกับแป้งมันเทลงเข้าไปผสมอย่างรวดเร็ว

วิธีทำ พุลโกกี 불고기 เนื้อย่างเกาหลีอันเลื่องชื่อ


ส่วนผสม
1.เนื้อตะโพก 1/2 กก.
2.งา 2 ช้อนโต๊ะ
3.กระเทียมสับหยาบ ๆ 1 หัว
4.ซีอิ๊วขาว 1.5 ช้อนโต๊ะ
5.เหล้าเชอรี่ 2 ช้อนชา
6.น้ำตาล 2 ช้อนชา
7.เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. หมักเนื้อด้วยเครื่องปรุงทั้งหมดเข้าด้วยกัน คืองาและกระเทียมตามลำดับ หมักไว้ประมาณ 30 นาที หมักไว้นอกตู้เย็น แล้วจึงย่างให้สุกตลอดทั้งก้อน
2.ผสมเครื่องน้ำจิ้มเข้าด้วยกัน ตักใส่ถ้วยน้ำจิ้มแต่ละคน

น้ำจิ้มเนื้อย่าง แบบเกาหลี

ตอนนี้อยากกินเนื้อย่างมากเลยครับไม่รู้เป็นอะไรก็เลยต้องทดลองหาสูตรแบบเกาหลีดูครับ...
เนื้อย่างเกาหลี สูตร 1

เครื่องปรุง
เนื้อวัวส่วนสะโพก 500 กรัม
มันหมูแข็ง 100 กรัม
กะหล่ำปลีซอย 2 ถ้วย
แครอทซอย 2 ถ้วย
ต้นหอมซอย 1 ช้อนโตีะ
หน่อไม้ฝรั่ง 300 กรัม
ฟักทอง 300 กรัม
กระเจี๊ยบมอญ 12 ฝัก
ข้าวโพดอ่อน 12 ฝัก
งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
ซีอิ๊วญี่ปุ่น 3 ช้อนโต๊ะ
สุราจีน 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ล้างเนื้อวัว ซับน้ำให้แก้ง แล่เป็นชิ้นบาง ใส่ลงในอ่างผสม
ใส่งาขาว พริกไทย ต้นหอม น้ำตาล ซีอิ๊วญี่ปุ่น สุราจีน น้ำมันงา น้ำมันพืช
เคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

2. ล้างผักทุกชนิดให้สะอาด ตัดโคนหน่อไม้ฝรั่งที่แข็งออก
ปอกเปลือกฟักทองออกบางๆหั่นชิ้นใหญ่ แกะโคนเปลือกข้าวโพดอ่อนออก

3. เมื่อจะรับประทาน นำมันหมูแข็งวางบนกระทะพอน้ำมันละลาย นำเนื้อที่หมักย่างจนพอสุก
จัดใส่จาน ย่างผักต่อ พอสุกใส่จาน รับประทานกับน้ำจิ้ม

ส่วนประกอบน้ำจิ้ม
พริกขี้หนูเขียวแดง สับละเอียด 15 เม็ด
รากผักชีและก้านซอย 1/4 ถ้วย
กระเทียมสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำกระเทียมดอง 1/2 ถ้วย
ทำน้ำจิ้มโดยผสมส่วนประกอบทุกอย่างเข้าด้วยกัน

ที่มา เว็บโหระพา



เนื้อย่างเกาหลี สูตร 2

เครื่องปรุง
เนื้อตะโพก 1/2 กก.
งา 2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับหยาบๆ 1 หัว
ซีอิ๊วขาว 1.5 ช้อนโต๊ะ
เหล้าเชอรี่ 2 ช้อนชา
น้ำตาล 2 ช้อนชา
เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ
1. หมักเนื้อด้วยเครื่องปรุงทั้งหมดเข้าด้วยกัน คืองาและกระเทียมตามลำดับ
หมักไว้ประมาณ 30 นาที หมักไว้นอกตู้เย็น แล้วจึงย่างให้สุกตลอดทั้งก้อน

2. ผสมเครื่องน้ำจิ้มเข้าด้วยกัน ตักใส่ถ้วยน้ำจิ้มแต่ละคน

ที่มา เว็บ thaiparents.com



เนื้อย่างเกาหลี สูตร 3

เคี้ยวหนึบหนับกับเนื้อย่างเกาหลีน้ำจิ้มอีสาน กุ๊กเล็ก
หากว่าแฟนานุแฟนมิตรรักนักกินคนใดเป็นผู้พิสมัยในรสชาติเนื้อล่ะก็เชิญมาทางนี้
เพราะในมื้อนี้ กุ๊กเล็ก จะพาเข้าครัวไปทำเมนูแบบเนื้อๆให้ได้กินกัน
กับเมนูเนื้อที่มีชื่อว่า เนื้อย่างเกาหลีน้ำจิ้มอีสานเป็นเมนูเนื้อย่างนุ่มๆ
เคี้ยวหนึบหนับปากและได้รสชาติของน้ำจิ้มอีสานรสแซ่บ
ว่าแล้วอย่ามัวมาเสียเวลากันอยู่เลย รีบเดินหน้าเข้าครัวกันดีกว่า

ส่วนผสมเครื่องปรุง
เนื้อวัวใช้เนื้อสันในหรือเนื้อสะโพก 1 กิโลกรัม
งาขาวคั่วบุบพอหอม 4 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมใช้ด้านขาวหั่นละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว 4 ช้อนโต๊ะ
ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันงา 4 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
เหล้า 4 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมน้ำจิ้ม
กระเทียม 3 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูเม็ดใหญ่สีแดง 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำน้ำจิ้ม
ให้นำกระเทียมและพริกมาโขลกให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย
ปรุงรสชาติด้วยมะนาว น้ำปลา และน้ำตาลทรายชิมรสชาติให้ออกรสจัด

สำหรับ วิธีการทำเนื้อย่างเกาหลี
เริ่มจากนำเนื้อมาแล่เป็นชิ้นๆ พอคำ แล้วก็หมักกับเครื่องปรุงทั้งหมด
คลุกเคล้าให้เข้ากันทิ้งไว้ในตู้เย็น 3-4 ชม.
เพื่อให้เนื้อนุ่มดี จากนั้นจึงค่อยนำเนื้อออกมา แล้วย่างบนกระทะไฟค่อนข้างแรง
ย่างจนเนื้อสุกได้ที่ก็เป็นอันว่าใช้ได้ กินตอนร้อนๆ คู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด
ได้เอร็ดอร่อยกับ เนื้อย่างเกาหลีน้ำจิ้มอีสานกันไปอีกหนึ่งเมนู

ที่มาผจก.ออนไลน์

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เรื่องของเนื้อ


ผมเป็นคนตัดกิเลสไม่ขาด
ยังคงติดในรสของเนื้อวัว
แม้เพื่อนๆจะเลิกกินกันไปหลายคนแล้วก็ตาม
ผมก็ยังคงวนเวียนอยู่ตามร้านเนื้อย่าง
และก๋วยเตี๋ยวเนื้ออยู่ร่ำไป
ร้านไหนเขาว่าดีว่าอร่อย
เป็นต้องแจ้นตามไปชิม
พุงก็เบ่งบานออกเรื่อยๆตามกิเลส
และความอร่อยของปาก

เอาเป็นว่าเก็บมาเล่าต่อสนุกๆก็แล้วกันนะครับ
บางท่านที่ไม่ทานเนื้อด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม
ผมก็ต้องขอโทษด้วย
ที่ท่านพลาดความสนุกบนปลายลิ้น
และของอร่อยๆที่จะมาเพิ่มกิเลสในตัวท่านไปอีกหนึ่งอย่างแล้ว 555


คนที่ชอบทานเนื้อวัวคงทราบกันดีนะครับว่า
เนื้อแต่ละส่วนมีความนุ่ม
ความเหนียวแตกต่างกันไป

ทีนี้เรากินตรงไหนของมัน
เนื้อตรงส่วนไหนเหมาะกับเอาทำอะไรกิน
หรือเขาเรียกส่วนไหนว่าอะไร

ลองมาทำความรู้จักกันนะครับ
เหล่าพ่อบ้านจะได้ไปเลือกซื้อมาให้ถูกส่วน
เดี๋ยวท่านแม่บ้านจะว่าเอาได้
ว่าทำไมซื้อเนื้อมาเหนียวเหลือเกิน
หรือซื้อมาทำกินเองทีไรก็ไม่เคยอร่อยสักที
เป็นงานให้ต้องพาออกไปกินอาหารนอกบ้านอีก ^^

วัวทั้งตัวเมื่อนำมาตัดเป็นชิ้นๆออกเป็นส่วนๆ
ตามที่ฝรั่งเรียกว่า Beef cuts จะแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆตามรูป
มีชื่อเรียกต่างๆกันไป








มาดูของไทยเรียกกันมั่ง


เนื้อตรงส่วนหลังของวัวเขาว่ากันว่า
เป็นเนื้อส่วนที่นุ่มที่สุด ได้แก่ส่วน A ทั้งหลาย
เนื่องจากเป็นส่วนที่ออกกำลังน้อยที่สุด
และส่วนที่นุ่มที่สุดคือสันในหรือ Tenderloin
ดูจากในรูปจะเห็นว่า
วัวตัวหนึ่งจะมีส่วนสันในเพียงนิดเดียว
ก็ไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมถึงได้แพงนักแพงหนา

ทีนี้การแบ่งเนื้อวัวตามความนุ่ม ฝรั่งมันก็แบ่งออกได้อีกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ประเภทนุ่มมากที่สุด
ได้มาจากส่วนหลังของวัว(Center of the back) ได้แก่พวกริบ(Rib)
Loin, Serloin, Tenderloin
เหมาะกับการนำไปทอด ,ย่าง, อบ

ประเภทที่ 2 นุ่มปานกลาง
ได้แก่เนื้อจากบริเวณโคนขาและสะโพก(Leg or Round or Rump)
และเนื้อจากบริเวณหัวไหล่ (Chuck or Shoulder)
เหมาะกับการนำไป ต้ม, ตุ๋น, ทำเนื้อบด

ประเภทที่ 3 นุ่มน้อยที่สุด
ได้แก่เนื้อจากบริเวณ ตอนกลางลำตัวด้านท้อง (Flank)
ด้านอก(Breast or Short plate) ส่วนต้นขาด้านหน้า (Brisket) ส่วนต้นขาหน้า(Shank)
และส่วนคอ (Neck)
เหมาะสำหรับการนำไป ตุ๋น ,ทำสตู, เนื้อบด
ส่วนเวลาถ้านำมาทำสเต็กเขาจะเอาส่วนต่างๆมาทำดังนี้

สันใน(fillet หรือ tenderloin)
เนื้อส่วนนี้จะละเอียด นุ่มมากที่สุด ไม่มีไขมัน
นิยมอบย่างทั้งก้อน เป็นเนื้อส่วนที่ตัดจากกลางตัว
เป็นส่วนที่อยู่สองข้างของแนวกระดูกสันหลัง
ส่วน fillet mignon คือเนื้อวัวส่วนสันในที่มีขนาดชิ้นเล็กที่สุด


ทีโบน(T-Bone หรือ Porterhouse) หรือเนื้อวัวสันนอกส่วนที่ติดกระดูก
เนื้อช่วงเอวของวัว(shortloin) ตัดมาจากส่วนกลางพร้อมกระดูกรูปตัวที
ซึ่งประกอบด้วยเนื้อสันนอก(sirloin)และสันใน(fillet) ในชิ้นเดียวกัน

เนื้อวัวส่วนซี่โครง (rib eye)
เนื้อนุ่ม รสเข้ม ตัดมาจากส่วนต้นซี่โครง
ที่ตัดแต่งกระดูกและเอ็นรอบนอกออก
เหลือแต่เนื้อส่วนกลางที่ให้รสชาติดีที่สุด
นิยมนำมาย่าง และทอดน้ำมันน้อยๆ

สำหรับเนื้อวัวส่วนซี่โครงชิ้นที่ 6-12 (prime rib)
ตัดแบบติดหรือไม่ติดกระดูกก็ได้
มีไขมันแทรกในเนื้อมาก
บริเวณขอบชิ้นมีเอ็นคั่นก่อนถึงไขมัน
ย่างแล้วเนื้อนุ่มอร่อย

เนื้อวัวส่วนสันนอก(sirloin)
เนื้อนุ่ม เป็นเนื้อที่อยู่ระหว่างส่วนขาหลังและเนื้อส่วนล่าง
เนื้อวัวส่วนสันนอกตัดเป็นชิ้นสเต๊กขาย
ทั้งแบบมีหรือไม่มีกระดูก เช่น
sirloin flat bone, round bone sirloin, pin bone sirloin
และ top sirloin steak เป็นต้น

เนื้อวัวส่วนลูกมะพร้าว(sirloin tip หรือ knockle)
เป็นเนื้อวัวส่วนช่วงโคนขาหลัง ตรงสะโพก
ก้อนใหญ่ เนื้อนุ่ม ไม่มีมัน
มีด้วยกันสองก้อนต่อวัว 1 ตัว

เนื้อวัวส่วนสะโพก (top round)
ตัดจากส่วนหลังของขา
แม้ว่าเนื้อในส่วน round นี้จะเป็นส่วนที่ทำงานหนักเหมือน
ส่วน chuck แต่เนื้อจาก round จะนุ่มกว่า

เนื้อวัวส่วนคอถึงไหล่(chuck) มักเรียกว่า London Broil
เนื้อวัวที่ไม่มีกระดูกหรือกล้ามเนื้อก้อนเดียว
ส่วนเนื้อส่วนหัวไหล่ที่มีไขมันแทรกและเอ็นแก้วตรงกลางชิ้นเนื้อ(top blade)
จะได้สเต๊กติดเอ็นที่อร่อยไปอีกแบบ

เนื้อวัวส่วนท้อง(Plate&Flank steak)
เนื้อนุ่ม ไม่มีกระดูก มีกล้ามเนื้อก้อนเดียว
ขนาดหนาไม่เกิน 1 นิ้ว
ราคาถูกกว่าเนื้อที่มีคุณภาพสูง
เนื้อจะค่อนข้างดี
เมื่อสไลซ์บางๆเ็ป็นเส้นทะแยงมุมก่อนเสริฟ์

เอามาทำอะไรดีถึงจะเหมาะ
ก็ฝรั่งเขาแนะนำไว้ตามนี้ครับ

ชาร์ทอื่นๆที่น่าสนใจครับ

ชาร์ทนี้ก็น่าสนใจ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้อดีผงกะหรี่

"ยับยั้งการสะสมโปรตีนในสมอง"
"เคอร์คูมิน" ซึ่งเป็นสารประกอบที่อยู่ในขมิ้น มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการก่อมะเร็ง ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะแก้อักเสบ ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อรา ใช้บำรุงผิวให้สดใส ลดความหมองคล้ำ

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่กล่าวถึงคุณสมบัติในการยับยั้งการสะสมโปรตีน อะมีลอยด์ในสมอง ตัวการโรคหลงลืม รวมถึงยับยั้งการสร้างเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งบางชนิดและโรคอักเสบอย่างเรื้อรังในสัตว์ ทดลอง จากการศึกษามะเร็งเต้านม สารสกัดขมิ้นสามารถลดการเติบโตของมะเร็งเต้านมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ สารเคมี ที่เป็นสาเหตุการเกิดของมะเร็งเต้านมได้ในสัตว์ทดลอง
ด้านทีมงานของจื้อผิง เอง จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และทีมงานได้ศึกษาคนเอเชีย 1,010 ราย ที่ชอบกินอาหารที่ใส่ผงกะหรี่ อายุระหว่าง 60-93 ปี ไม่มีอาการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ แล้วเปรียบเทียบสมรรถนะในการจดจำด้วยวิธีมาตรฐาน
"ทำให้ความจำดีขึ้น"
จากการตรวจสอบ พบว่า กลุ่มคนที่กินอาหารที่ใส่ผงกะหรี่ "เป็นบางครั้ง" (ในช่วง 6 เดือน กินหนึ่งครั้ง หรือมากกว่า แต่น้อยกว่าเดือนละครั้ง) และกลุ่มที่กิน "บ่อย" (มากกว่าเดือนละครั้ง) มีผลการทดสอบความจำดีกว่าคนที่ "ไม่เคย หรือแทบจะไม่ได้กิน" ผงกะหรี่เลย
จื้อผิง กล่าวว่า ผลการวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่า การรับประทานแกงกะหรี่ที่มีส่วนผสมของขมิ้นนั้น แม้เพียงนาน ๆ ครั้งก็จะช่วยในเรื่องของความสามารถในการจดจำ
นอกจากนี้ เขายังต้องการที่จะยืนยันผลการทดลอง ด้วยการทำการทดลองในคลินิกโดยการเปรียบเทียบคนที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบ ของผงกะหรี่ กับกลุ่มควบคุมที่คิดว่ากินผงกะหรี่ปลอม.

แหล่งข้อมูล : บอร์ดรวมเรื่องน่าอ่าน
ผงกะหรี่เป็นผงเครื่องเทศที่ครัวของหลายชาติใช้ในการทำแกงกะหรี่ ดังที่มีกะหรี่ไทย กะหรี่ญี่ปุ่น กะหรี่จีน กะหรี่เวียดนาม กะหรี่ฝรั่ง กระทั่งกระหรี่อินเดียที่เป็นของแท้ดั้งเดิม แรกเริ่มทีเดียว กะหรี่ (kari หรือ karhi) เป็นภาษาทมิฬที่ชาวอินเดียใต้ใช้เรียกแกงประเภทเผ็ดชนิดหนึ่งที่มีน้ำ ทว่า นอกจากแกงเผ็ดประเภทน้ำมากแล้ว คนอินเดียใต้เขาก็ยังมีแกงเผ็ดประเภทน้ำข้น และประเภทแกงแห้งอีกต่างหาก แต่ละประเภทก็มีชื่อเรียกเฉพาะกันไป สูตรเครื่องแกงจึงมีหลากหลายมากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นแกงชนิดใด สูตรเครื่องแกงไหน คนอินเดียก็มักบดเครื่องแกงกันสดๆ ผสมเครื่องแกงขึ้นใช้เป็นครั้งคราวไป แต่เมื่อคนอังกฤษเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นราวกว่าสองร้อยปี ที่แล้ว เกิดติดอกติดใจกับแกงอินเดียมาก แต่ไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมจึงหลงใหลเฉพาะกับแกงที่ชื่อ kari นักหนา จึงเรียกแกงทั้งหลายของอินเดียว่า “curry”

ผงกะหรี่มีเครื่องเทศหลักเป็น ลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้น และลูกซัด นอกนั้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้ปรับปรุงรสและกลิ่นเพิ่มเติม ได้แก่ เปลือกพริกเผ็ด เปลือกพริกแดง พริกไทย กระวาน กานพลู อบเชย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ขิง กระเทียม ใบกะหรี่ เมล็ดเทียนสัตตบุษย์ เมล็ดเทียนข้าวเปลือก เมล็ดเทียนตาตั๊กแตน (เมล็ดผักชีลาว) อบเชยเทศ อบเชยจีน เมล็ดพรรณผักกาด (เมล็ดมัสตาร์ด) เมล็ดป๊อบปี้ ดอกอบเชย เมล็ดขึ้นฉ่าย เกลือ และนี่คื่อสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผงกะหรี่จากแห่งหนที่ต่างกันมีรสและกลิ่นไม่ เหมือนกัน

ผงกะหรี่อินเดีย เป็นผงกะหรี่มาจากแผ่นดินต้นกำเนิดนั้น มีกลิ่นหอม รสเครื่องเทศแรง

ผงกะหรี่อินเดียสูตรโบราณ จะมีเครื่องเทศป่นผสมที่ต่างกันไปจากผงกะหรี่อินเดียทั่วไป

ผงกะหรี่แบบยุโรป เป็นผงที่มีกลิ่นรสอ่อนลง เพราะเขาใช้เพียงโรยหน้าในสตูต่างๆ

ผงกะหรี่แบบญี่ปุ่น สี กลิ่น รส ของผงกะหรี่จะอ่อนมาก กะหรี่ญี่ปุ่นมีทั้งแบบเป็นผงและเป็นก้อน

ผงกะหรี่แบบจีน มีสีเหลืองสวย รสอ่อน กลิ่นหอม

ผงกะหรี่แบบไทย สีออกเหลืองเข้ม รสแรง กลิ่นหอม

ผงกะหรี่แบบพื้นบ้านของไทย เรียกชื่ออย่างแขกอินเดียว่า มัสล่า อยู่ทางแม่ฮ่องสอนเรียกว่าเป็นผงอเนกประสงค์ทีเดียว
ที่มา www.ngcspice.com

ผงกะหรี่ญี่ปุ่น

ส่วนผสมแบบ ยี่ห้อดัง ใน 220 กรัม
แป้งสาลี 80 กรัม 35%
เกลือ 25 กรัม 11%
น้ำตาล 20 กรัม 9%
ผงกะหรี่ 10 กรัม 4%
พริกแดงผงละเอียด 2.5 กรัม 1%
พริกไทยดำป่น 1.5 กรัม 0.7%
ขมิ้น 1 กรัม 0.5%
ผงชูรส 4 กรัม 2%